Air Tank

ถังพักลม หรือ ถังเก็บลม (Air tank) คือถังเหล็กที่ทำหน้าที่เก็บลมอัด ที่ผลิตมาจากปั๊มลม และกักเก็บเพื่อกลั่นความชื้นของลมอัด ลดอุณหภูมิ และสำรองลมอัดไว้ใช้จ่ายเข้าสู่กระบวนการผลิตต่อไป นิยมทำมาจากเหล็กและทาสีฟ้าเพื่อป้องกันสนิม หรืออาจเป็นสีอื่นๆขึ้นอยู่กับผู้ผลิต
รับผลิตถังพักลมตามความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่ 36-10,000 ลิตร ซึ่งมีความแข็งแรงทนทาน Submerged Arc Welding Technology ใช้สีกันสนิมทั้งภายในและภายนอก
ทางบริษัท กฤษดาการ เอ็นจิเนียริ่งเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายถังพักลม โดยจะมีรุ่นมาตรฐานคือ 36 ลิตร , 80 ลิตร , 260 ลิตร , 500 ลิตร , 800 ลิตร , 1000 ลิตร , 1300 ลิตร , 1500 ลิตร , 2000 ลิตร , 2500 ลิตร
โดยมีขนาดแต่ละรุ่นดังนี้

นอกจากนี้หากต้องการเป็นถังแนวนอน หรือถังขนาดอื่นๆสามารถสอบถามและสั่งผลิตตามต้องการได้ ทางบริษัทฯมีจัดจำหน่ายทั้งแบบเฉพาะตัวถังพักลมเปล่าๆและพร้อมอุปกรณ์ภายในพร้อมใช้งาน ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า สามารถแจ้งได้ครับ
ถังพักลมมีกี่แบบ ความหนาเท่าไหร่
ถังพักลมที่เราผลิตออกมานั้นจะมีทั้งหมด 2แบบคือ แบบนอนและแบบตั้ง ซึ่งทั้งสองแบบจะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป โดยมากผู้ใช้งานจะเลือกใช้งานโดยคำนึงถึงพื้นที่ในการตั้งถังเป็นหลัก
ส่วนความหนาโดยทั่วไปจะใช้เป็นเหล็กหนา 6มิล และบางรุ่นจะเป็น8มิล ขึ้นอยู่กับขนาดถังและความต้องการของผู้ใช้งานเป็นหลัก
ส่วนประกอบถังพักลม
หากพูดถึงถังพักลมในที่นี้จะพูดถึงตัวถังเหล็กเปล่าๆซึ่งมีหน้าที่กักเก็บลมแค่นั้น โดยตัวของมันเองแล้วยังไม่สามารถทำงานได้ จึงต้องมีส่วนประกอบที่ทำหน้าที่ต่างๆดังนี้

- ถังพักลม มีหน้าที่ กักเก็บ สำรองลมอัด ลดอุณหภูมิ และรอกลั่นความชื้นโดยจะกลั่นลงสู่วาล์วระบายน้ำหรือ Auto drain
- วาล์วระบายน้ำ หรือ ออโต้เดรน(Auto Drain) เนื่องจากในอากาศจะมีความชื้นผสมอยู่ ซึ่งหากความชื้นเข้าไปสะสมในระบบมากๆย่อมส่งผลไม่ดีต่ออุปกรณ์ภายชิ้นส่วนอื่นๆที่อยู่ในไลน์แน่ๆ ดังนั้นถังพักลมจึงถูกออกแบบมาให้เก็บลมอัดจากปั๊มลม และเมื่ออัดด้วยความดันสูงมากๆ ความชื้นจะควบแน่นกันและกลั่นตัวมาเป็นหยดน้ำ และหยดลงสู่ก้นถัง ซึ่งตรงก้นถังนี้เองเราจะทำการติดตั้งวาล์วระบายน้ำ ซึ่งสามารถใช้บอลวาล์วเปิด-ปิดแบบแมนนวลเพื่อระบายน้ำก็ได้ หรือจะใช้Auto drain ซึ่งสามารถระบายน้ำโดยอัตโนมัติก็ได้
- วาล์วขาเข้า (Air Inlet Valve) คือวาล์วที่ทำหน้าที่เปิด-ปิดลมอัดที่จะเข้าสู่ถัง ส่วนมากนิยมใช้เป็นบอลวาล์วแบบแมนนวล
- วาล์วขาออก (Air Outlet Valve) คล้ายกับวาล์วขาเข้า แต่จะอยู่ฝั่งขาออก ทำหน้าหน้าที่เปิด-ปิดลมอัดที่ออกจากถัง และจ่ายเข้าสู่ระบบ ส่วนมากนิยมใช้เป็นบอลวาล์วแบบแมนนวล และส่วนมากใช้เป็นวาล์วชนิดเดียวกับวาล์วขาเข้า
- เพรสเชอร์เกจ(Pressure gauge) มีหน้าที่วัดแรงดันในถัง เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถรู้สถานะภายในถังได้ว่ามีลมอัดแรงดันอยู่ปริมาณเท่าไหร่ เนื่องจากหากมีแรงดันมากหรือน้อยเกินไป จะทำให้เวลาจ่ายลมอัดเข้าสู่ระบบจะทำให้อุปกรณ์อื่นๆมีปัญหา ถ้าหากลมอัดมีแรงดันมากเกินไปลมอัดจะถูกปล่อยออกโดย เซฟตี้วาล์ว
- เซฟตี้วาล์ว(Safety Valve) มีหน้าที่ ควบคุมแรงดันในถัง โดยการปล่อยแรงดันสู่บรรยากาศ เมื่อภายในถังมีแรงดันเกินพิกัด โดยตัวเซฟตี้วาล์วเองจะสามารถตั้งค่าได้ว่าให้ปล่อยลมออกเมื่อแรงดันมีค่าสูงเกินเท่าไหร่ เพื่อให้ปลอดภัยและแรงดันไม่น้อยเกินไปที่จะใช้งาน
ข้อดีของถังพักลม
- รักษาแรงดันลม คงไม่ดีแน่ถ้าหากลมอัดที่จ่ายเข้าสู่ไลน์มีการกระชากแรงดันขึ้นๆลงๆ ดังนั้นถังพักลมจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยควบคุมปริมาณและแรงดันลม ให้สามารถจ่ายเข้าระบบนิวเมติกส์ได้อย่างคงที่และสม่ำเสมอ
- ลดอุณหภูมิ เนื่องจากลมอัดที่เกิดจากเครื่องอัดลมจะมีความร้อนไม่เหมาะกับการใช้งาน ถังพักลมจึงทำหน้าที่พักลมเพื่อลดความร้อนให้เป็นอุณหภูมิปกติ ก่อนนำไปใช้งาน
- ลดความชื้น เนื่องจากในอากาศจะมีความชื้นปนอยู่ เมื่อเครื่องอัดอากาศ ทำการอัดลมเข้าไปในถังพักลมความชื้นจะควบแน่นเป็นหยดน้ำ และตกลงสู่ก้นถัง และระบายออกมาโดยออโต้เดรน(Autodrain) เพื่อทำให้ลมกลายเป็นลมแห้งที่เหมาะสมกับการใช้งานก่อนจะจ่ายเข้าไปในระบบนิวเมติกส์เพื่อรักษาอุปกรณ์อื่นๆในระบบไม่ให้มีความชื้น
- ใช้สำรองปริมาณลมอัดไว้สำหรับใช้งาน ในสภาวะที่เครื่องอัดลมไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เราจะมีลมสำรองจากถังพักที่สามารถจ่ายเข้าสู่ระบบไปได้อีกระยะหนึ่ง ซึ่งข้อดีคือสามารถป้องกันการกระชากของลมในระบบได้
- ลดภาระการทำงานของเครื่องอัดลม เมื่อเรามีถังพักลมจะทำให้เครื่องอัดลมไม่ต้องทำงานตลอดเวลา และยังเป็นการช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องอัดลมไม่ให้ชำรุดเร็วกว่าที่ควรจะเป็นได้อีกด้วย
- ลดค่าใช้จ่าย ที่เกิดจากเครื่องอัดลม เนื่องจากที่เครื่องอัดลมไม่ต้องทำงานตลอดเวลาจึงช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการทำงานของเครื่องอัดลม ทั้งในแง่ของค่าไฟและการบำรุงรักษาเมื่อถึงระยะใช้งานที่กำหนด อีกทั้งหากในโรงงานมีขนาดใหญ่ พื้นที่กว้าง ซึ่งปั๊มลมเวลาจ่ายลมในระยะไกลจะทำให้เกิดการสูญเสียแรงดันในระบบและอุปกรณ์ในระบบไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ โดยปกติแล้วหากไม่มีถังพักลมจะแก้ไขโดยการเพิ่มจำนวนเครื่องอัดลมซึ่งอย่างที่ทราบกันดีว่า เครื่องอัดลมมีราคาที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นการใช้ถังพักลมเพื่อเพิ่มระยะการใช้งานจึงเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก