Pressure gauge เกจวัดแรงดัน

Pressure Gauge – เกจวัดแรงดัน

เกจวัดแรงดัน (Pressure Gauge) คืออะไร?

 เกจวัดแรงดันคืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดแรงดันลม แก๊ส น้ำน้ำมัน ไฮดรอลิค หลักๆจะแบ่งออกเป็น3ประเภทดังนี้

1. เกจวัดแรงดันในย่านที่เป็นค่าบวก จะเรียกว่า เกจวัดแรงดัน หรือ เพรสเชอร์เกจ
2. เกจวัดแรงดันในย่านที่เป็นค่าลบหรือแรงดูด จะเรียกว่า เกจวัดค่าสุญญากาศ หรือ Vacuum Gauge
3. เกจวัดแรงดันที่วัดทั้งค่าที่เป็นลบและเป็นบวกในตัวเดียวกัน จะเรียกว่า คอมปาวด์เกจ หรือ Compound Gauge

การเลือกใช้เกจวัดแรงดันต้องรู้อะไรบ้าง? เนื่องจากตัวเกจเองมีหลากหลายฟังก์ชันให้เลือกใช้งาน ดังนั้นผู้ใช้งานควรทำความเข้าใจก่อนที่จะเลือกซื้อเกจเพื่อให้ตรงตามความเหมาะสมของลักษณะงานมากที่สุด โดยมีข้อควรทราบก่อนการเลือกซื้อดังนี้

  • ขนาดหน้าปัด การเลือกขนาดหน้าปัดจะส่งผลต่อขนาดความโตของเกลียวด้วย ดังนั้นหลักการเลือกขนาดหน้าปัดจึงควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้งาน และควรพิจารณาจากขนาดของเกลียวที่นำไปต่อด้วย โดยทั่วไปเกจจะมีขนาดหน้าปัด 1” / 2.5” / 4” / 6” และ 10” ซึ่งเกจขนาด 1.5” จะเป็นเกจที่ใช้กับตัวปรับแรงดัน จึงทำมาจากเหล็ก ส่วนขนาดอื่นๆหน้าปัดจะเป็นสแตนเลสทั้งหมด
  • ข้อต่อ มีหลักเกณฑ์4ข้อที่ต้องพิจารณาคือ
    1. ตำแหน่งเกลียว เกจจะมีตำแหน่งเกลียวที่สามารถเลือกได้คือเกลียวออกล่างและเกลียวออกหลัง ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการติดตั้งหน้างาน ซึ่งถ้าเป็นตัวเกลียวออกหลังจะมีแบบหน้าแปลนหรือบางที่จะเรียกว่าแบบปีก ให้เลือกอีกด้วย
    2. ชนิดของเกลียว เป็นเกณฑ์ที่หลายคนมองข้ามไป แต่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากถ้าเกลียวต่างชนิดกันจะไม่สามารถสวมใส่เข้าด้วยกันได้ ซึ่งเกจจะมีเกลียว2ชนิดนั่นคือ เกลียว
  •  NPT(National Pipe Thread Taper) และ เกลียวBSPT(British Standard Pipe Taper)
    3. วัสดุเกลียว ส่วนมากจะนิยมใช้เป็นเกลียวทองเหลือง แต่ในบางที่จะมีข้อจำกัดเรื่องสารเคมี และมาตรฐานโรงงานอาหารและยา ฯลฯ จึงอาจใช้เป็นเกลียวสแตนเลสแทน
    4. ขนาดเกลียว ควรเลือกเกลียวที่มีขนาดพอดีกับจุดที่นำไปต่อด้วย ซึ่งการเลือกขนาดเกลียวจะส่งผลต่อขนาดของหน้าปัดด้วย
  • ย่านการวัด(Range) มีให้เลือกตั้งแต่ 0-1 bar ไปจนถึง 0-600 bar ซึ่งการเลือกใช้ควรสังเกตจากย่านแรงดันในจุดที่ใช้วัด และเผื่อไปสักหน่อย ไม่ควรเผื่อมากจนเกินไป เพื่อให้สามารถอ่านค่าได้ง่ายและละเอียดมากที่สุด
  • หน่วยวัด สามารถรองรับหน่วยวัด Bar,Kg/cm2,Psi,MPa,mmHg
  • น้ำมัน หรือ กลีเซอลีน(Glycerin) สามารถเลือกได้ว่าจะเติมหรือไม่เติม ข้อดีของน้ำมันคือจะช่วยลดแรงกระแทกและแรงสั่นสะเทือนของเข็ม ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งาน และช่วยให้อ่านค่าได้ง่ายขึ้น ซึ่งโดยทั่วไป เราจะเรียกเกจที่ไม่ได้เติมน้ำมันว่า เกจวัดแรงดันแบบธรรมหรือเกจวัดแรงดันแบบแห้ง(Dry Pressure Gauge) และเกจที่เติมน้ำมันเรียกว่า เกจวัดแรงดันแบบน้ำมัน(Oil Pressure gauge)

ทางบริษัทฯหวังว่า บทความที่กล่าวไปข้างต้นจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้เกจได้ถูกต้องและเหมาะสมกับงานมากที่สุด ทั้งนี้ทั้งนั้นหากท่านมีข้อสงสัย สามารถติดต่อเราได้ตามช่องทางด้านล่าง เรายินดีให้คำปรึกษาแก่ทุกท่าน

“Kritsadakan Engineering ตัวแทนจำหน่ายเกจวัดแรงดันราคาถูก คุณภาพสูงจากอิตาลี Nuova Fima “

ติดต่อสอบถาม

LINE ID : KSDK8688 083-068-0189

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *